วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย  เรื่อง  การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์      

     พหุปัญญา หมายถึง สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มีความสามารถจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วน การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีเป้าหมายและคิดอย่างมีเหตุผล           

      ลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถด้านพหุปัญญา 

1.สามารถจับใจความได้ดีจากการฟัง 

2.สามารถถ่ายทอดความคิดโดยการพูดได้อย่างชัดเจน 

3.มีความสามารถในการวิเคราะห์ 

4.มีความสามารถในการสังเคราะห์ 

5.มีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหา 


       ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วยทักษะขั้นสูง 13 ทักษะ

        ทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ประการ

1.การสังเกต

2.การวัด

3.จำแนกประเภท

4.การหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับพื้นที่และพื้นที่กับเวลา

5.การใช้ตัวเลข

6.การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

7.การลงความเห็นจากข้อมูล

8.การพยากรณ์       

   

    ทักษะขั้นสูงมี 5 ทักษะ

1.การตั้งสมมติฐาน

2.การกำหนดคำนิยามเชิงปฎิบัติการ

3.การกำหนดและควบคุมตัวแปร

4.การทดลอง

5.การตีความหมายของข้อมูลและการลงข้อสรุป            

       

         การจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางมีการบูรณาการรูปแบบการสอนต่างๆเข้าด้วยกัน  การจัดกิจกรรมเป็นการประสานกันระหว่างโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและเด็ก  เด็กเกิดองค์ความรู้โดยการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและร่วมกับเพื่อน  กิจกรรมเป็นรูปแบบการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กิจกรรมเกิดจากครูเป็นผู้จัดบรรยากาศการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนุกกับการปฏิบัติกิจกรรมที่ตนเองสนใจ  เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างสร้างสรรค์

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน จันทร์ ที่  30  เดือน กันยายน  พ.ศ. 2556
กลุ่มเรียน 102  เวลา 14.00-17.30น.

ครั้งที่ 16

            อาจารย์ให้เพื่อนๆส่งงานการทดลอง  สื่อของเล่นและสื่อวิทยาศาสตร์เข้ามุมกลุ่มของดิฉันได้ทำบ่อตกปลา

             อุปกรณ์

   1.กล่องลังขนาดใหญ่
   2.กาว
   3.กระดาษสี
   4.โฟม
   5.ตะเกียบ
   6.สี
   7.กรรไกร
   8.แผ่นแม่เหล็ก
   9.ฝาน้ำ
   10.คัตเตอร์
   11.เชือก

ขั้นตอนการทำ

1.ตัดกล่องส่วนข้างหน้าออกแล้วตัดกล่องเป็นแนวเฉียง
2.ติดกระดาษสี
3.วาดภาพสัตว์น้ำใต้ท้องทะเล
4.นำเชือกมาผูกกับไม้ตะเกียบ
5.นำฝาน้ำมาติดกับเชือก
6.นำแม่เหล็กมาติดที่ฝาน้ำ
7.นำแม่เหล็กติดที่ตัวสัตว์
8.ตกแต่งบ่อตกปลา




วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556



วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน จันทร์ ที่ 23  เดือน กันยายน  พ.ศ. 2556
กลุ่มเรียน 102  เวลา 14.00-17.30น.

ครั้งที่ 15
            " วันนี้เตรียมอุปกรณ์ทำข้าวผัด"



  

 เพื่อนๆแต่ละกลุ่มช่วยกันทำข้าวผัด













วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556



วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยวัน

 จันทร์ ที่  16 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มเรียน 102  เวลา 14.00-17.30น.
ครั้งที่ 14

             วันนี้อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิน  สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การทำอาหารดังนี้

  1.อาจารย์ให้จักลุ่มคิดเมนูอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มละ 1 เมนู

             2.เขียนแม็ปการทำข้าวผัด

             3 .เริ่มเขียนขั้นตอนการทำข้าวผัด

             4.เขียนแผนการสอนทำข้าวผัด


อาจารย์แนะนำการเขียนแผนการทำข้าวผัด


เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีเมนูอาหารดังนี้


1.กลุ่มแนน ทำต้มจืด

2.กลุ่มจ๋า   ทำแซนวิชไข่ดาว

3.กลุ่มหยก  ทำวุ้นมะพร้าว

4.กลุ่มอีฟ  ทำไข่ตุ่น         


           เมื่อเพื่อนๆแต่ละกลุ่มคิดเมนูเสร็จอาจารย์ก็ให้ร่วมกันโหวตว่าจะจัดทำอาหารเมนูไหนดีผลปรากฎว่ากลุ่มของดิฉันได้รับผลโหวตเป็นอันดับแรก   อาจารย์จึงสรุปให้ทำข้าวผัด


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัน จันทร์ ที่  9 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มเรียน 102  เวลา 14.00-17.30น.
ครั้งที่ 13
    

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดราชการ 



วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัน จันทร์ ที่  2 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มเรียน 102  เวลา 14.00-17.30น.

ครั้งที่ 12
           

 หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยวัน จันทร์ ที่  26 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2556กลุ่มเรียน 102  เวลา 14.00-17.30น.

ครั้งที่ 11
            

 หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ให้เข้าร่วมงานเกษียณอายุอาจารย์  กรรณิการ์  สุสม